ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
การจัดเก็บและการค้นคืน
การจัดเก็บเพื่อประโยชน์ของการใช้และการเข้าถึงสารสนเทศ
การจัดเก็บ มุ่งจัดโครงสร้างในทางกายภาพ เช่น รหัสหมวดหมู่ ดรรชนีเชื่อมโยงไปยังที่จัดเก็บสารสนเทศ (แฟ้มข้อมูล) เนื้อหา เช่น ศัพท์ดรรชนี (คำแทนสาระ) สาระสังเขป โครงร่างเนื้อหา (สารบัญ) เป็นต้น
-การค้นคืน (retrieval) เป็น การค้นเพื่อให้ได้ผลการค้นตามต้องการ มุ่งเน้นที่ผลการค้นเป็นสำคัญ
-การค้น การค้นหา (searching) เป็นกระบวนการค้น เช่น การค้นจากหนังสือ การค้นจากฐานข้อมูลโดยใช้ชื่อผู้แต่ง
ระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ (Information Storage and Retrieval System – ISAR system) ระบบค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval System – IR system)
ระบบจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ ใช้น้อย (จากวรรณกรรม)
การค้นคืน วิธีการค้นหาแบ่งออกเป็น
browsing หรือ การสำรวจเลือกดู
searching หรือ analytical search หรือ การค้นด้วยคำหรือลักษณะของสารสนเทศ เช่น สี ขนาด
จุดประสงค์หลัก คือ ให้ค้นคืนสารสนเทศที่ “เข้าเรื่อง” (relevance) หรือ “ตรงกับความต้องการ” (pertinence)
สารสนเทศปริมาณมาก
สารสนเทศในรูปแอนะล็อก และ ดิจิทัล
สารสนเทศต่างรูปลักษณ์หรือรูปแบบ (format) เช่น เอกสาร บทความ หนังสือ วารสาร แผ่นพับ
สารสนเทศต่างประเภท เช่น เสียง ภาพลักษณ์ ภาพกราฟิก และข้อความ
ตัวแบบการค้น เป็น หลักการหรือแนวคิดในการพิจารณาการจับคู่หรือเปรียบเทียบ ระหว่างข้อคำถาม และดรรชนีแทนสารสนเทศที่สะสมไว้ ให้สามารถค้นคืนสารสนเทศที่เข้าเรื่องหรือตรงกับความต้องการ
ตัวแบบบูเลียน (Boolean model) เป็นการจับคู่แบบตรงกันระหว่างศัพท์ดรรชนีและคำค้น
ตัวแบบเวกเตอร์
แทนเอกสารและข้อคำถามในรูปเวกเตอร์ (คณิตศาสตร์) โดยกำหนดค่าน้ำหนักของคำ ด้วยความถี่ของคำที่ปรากฎในเอกสาร และคำที่ปรากฎในฐานข้อมูล (มวลเอกสาร)
ตัวแบบความน่าจะเป็น
จัดลำดับเอกสารในมวลทรัพยากรสารสนเทศตามความน่าจะเป็นด้านความเข้าเรื่องของแต่ละเอกสารกับข้อคำถาม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น