วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่13 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ


ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ 

1.ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ควบคุมคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ

 บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
– คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
– ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
– คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
– คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด



2.จงบอกวัตถุประสงค์ การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพ

• เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต
• เพื่อลดปัญหาการขาดแรงงาน
• เพื่อตัดปัญหาการขาดช่างฝีมือ
• เพื่อลดอันตราย
• ทำให้คุณภาพของสินค้าสูงขึ้น สินค้าที่ผลิตออกมาจะมีลักษณะและคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ
• ช่วยในการออกแบบ
• ช่วยในการควบคุมเครื่องมือการผลิต
• ช่วยควบคมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
• ช่วยในการวางแผนจัดการกับวัสดุที่ต้องใช้
• ช่วยในการจัดทำบัญชี

3.การเซ็คโดยระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง หาข้อมูลพร้อมทั้งภาพประกอบ


1. แบบสัมผัส

-โดยอาศัยเครื่องมือวัดตำแหน่ง

-โดยอาศัยหัววัดทางกล ( Mechanical Probes






2. แบบไม่สัมผัส
1. ใช้เทคนิคทางแสง
  Machine Vision
Scanning Laser Beam Devices
Photogrmametry
2. ไม่ใช้เทคนิคทางแสง
เทคนิคทางสนามไฟฟ้า
เทคนิคทางรังสี
เทคนิคทางคลื่นเสียงความถี่สูง

ข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับแบบสัมผัส
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งชิ้นงานขณะทำการตรวจเช็ค
การตรวจเช็คทำได้เร็วกว่า
ลดอันตรายในกรณีที่ต้องตรวจเช็ควัสดุที่มีอันตราย
ผิดชิ้นงานไม่เกิดความเสียหายเนื่องจากโดนสัมผัส




















วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

SCADA


SCADA คืออะไร

     SCADA นั้นย่อมาจากคำว่า Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะตลอดจนถึงควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร การประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและก็าซ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ การขนส่ง กระบวนการนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าเป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานเช่นใช้ SCADAตรวจสอบข้อมูลเช่นการรั่วไหลของของเหลวที่เกิดขึ้นในท่อขนส่งจากตัวตรวจจับแล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ โดยส่งข้อมูลสู่ส่วนกลางของระบบ SCADA เป็นต้น
     นอกจากนั้น SCADA อาจทำหน้าที่คำนวนและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น PLC, Controller, DCS, RTU แล้วแสดงข้อมูลทางหน้าจอ หรือส่งสัญญาณควบคุมฮาร์ดแวร์ดังกล่าว เช่นหากอุณหภูมิของอุปกรณ์สูงเกินพิกัด ให้ทำการปิดอุปกรณ์นั้นเป็นต้น โดยสั่งงานผ่าน PLC หรือ Controller ที่ติดต่ออยู่ ทั้งนี้ SCADA สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากระบบควบคุมทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้พนักงานหรือโปรแกรมอื่น ๆ สามารถนำไปใช้งานได้ SCADA นั้นเข้าไปมีส่วนในงานควบคุมทั้งเล็กและใหญ่ที่ต้องการแสดงผล แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือควบคุมระบบต่าง ๆ จากส่วนกลาง เพื่อการทำงานของระบบรวมที่สัมพันธ์กัน มองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนและมีความรวดเร็วต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ระบบ SCADA ในปัจจุบันมีความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม และประมวลผลข้อมูลจาก I/O ของอุปกรณ์เช่น PLC, DCS, RTU ได้ถึงระดับที่เกินหนึ่งแสน I/O แล้ว และได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถรองรับความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดมา
SCADA เริ่มใช้งานในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ DOS, VMS และ UNIX จนมาถึงระบบปฏิบัติการ Windows NT, XP, Server 2003 และ LINUX

องค์ประกอบของ SCADA

ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นระยะทางไกลได้โดย หน่วยติดต่อและปฏิบัติการของผู้ใช้ระดับบนเป็นเครื่องมือปฏิบัติการของผู้ใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุม กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกับหน่วยควบคุมระยะไกล หน่วยควบคุมระยะไกลติดต่อกับหน่วยติดต่อระยะไกลโดยการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลทางระบบเครือข่ายคมนาคม และหน่วยติดต่อระยะไกลเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อกับกระบวนการผลิต ประกอบด้วย หน่วยรับสัญญาณ และส่งสัญญาณของสัญญาณชนิดแอนะล็อก และสัญญาณชนิดดิจิตอล

การติดตั้ง SCADA สำหรับตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล และบริหารระบบควบคุม

SCADA เหมาะสมกับงานประเภทใด
• การตรวจสอบ
• การเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการผลิต
• การบริหารระบบควบคุม
ของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บริเวณกระบวนการผลิตครอบคลุมพื้นที่กว้าง หรือโรงงานอุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิตอิสระติดตั้งกระจัดกระจายทั่วบริเวณพื้นที่การผลิต รวมถึงระบบสาธารณูประโภคต่าง
รูปแบบของ SCADA
• Point-to-Point Configuration
• Point-to-Multipoint Configuration

ส่วนประกอบของ SCADA

1. Field Instrumentation
เป็นเครื่องมือ หรือเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ถูกควบคุมหรือถูกตรวจสอบ อุปกรณ์นี้จะเปลี่ยน Physical Parameter เช่น Fluid Flow ,Velocity,Fluid Level ให้เป็น Electrical Signal เช่น Voltage หรือ Current ซึ่งสามารถอ่านค่าเหล่านี้ได้โดย Remote Station Equipment ผลลัพธ์ที่ได้เป็นได้ทั้ง Analog และ Digital

2. Remote Station
เป็นส่วนที่ทำการรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และส่งไปยังศูนย์กลางระบบ SCADA ซึ่งอาจจะเป็น Remote Terminal Unit (RTU)หรือ Programmable Logic Controller (PLC) ก็ได้ RTU คือ อุปกรณ์ใช้ในการตรวจจับสัญญาณจาก Field Sensor แล้วส่งสัญญาณข้อมูลให้ Controller ควบคุม อุปกรณ์

Remote Station แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 Single Board : input และ output เป็น Fixed Nmber จะมีราคาถูกแต่ไม่สามารถรองรับการขยายของระบบสมัยใหม่ได้
2.2 Modular Board : สามารถรองรับการขยาย Remote Station ได้ แต่ราคาค่อนข้างแพง
3. Communication Network
เป็นการส่งข้อมูลดิจิตอลระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง โดยผ่านตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร เช่น สายเคเบิล คลื่นวิทยุ หรือผ่านระบบ GSM/GRSP
4. Central Monitoring Station (CMS)
เป็นศูนย์กลางของระบบ SCADA โดยรับข้อมูลมาประมวลผลและทำการแสดงกระบวนการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์
ฐานของข้อมูล SCADA
1. Realtime Database Servers
เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้จัดการและเก็บค่าของกระบวนการ ณ เวลาปัจจุบันในขณะใดๆ ค่า realtime จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ค่าของกระบวนการจะถูกตรวจจับ (monitor & scan) โดย RTU (Remote Termination Unit) จากนั้น ข้อมูลค่า realtime จะถูกประมวลนำมาแสดงผลบน MMI (Man-Machine Interface) เพื่อให้โอเปอเรเตอร์ รู้ถึงสภาพของกระบวนการ ณ ขณะนั้นๆ ค่า realtime ทุกๆ ค่าจะถูก update ได้ไม่เกินทุกๆ 2 วินาที
2. Historical Database Servers
เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้จัดการและจัดเก็บค่า Historical Data ของกระบวนการเพื่อใช้ในการ Trending ,Logging ,Statistic และ Report ตัวอย่างของฐานข้อมูลชนิดนี้ คือ XIS (eXtended Information System) ซึ่งถูกสร้างโดยใช้ Sybase Realational Database Management System (RDBMS) ที่เป็นมาตรฐาน
มาตรฐาน Protocols ที่ใช้ใน SCADA
ปัจจุบัน มี SCADA มาตรฐาน Protocols มากกว่า 200 โปรโตคอลทั่วโลก ที่ใช้สำหรับการติดต่อระหว่าง Central Computer และ Remote RTUs ,PLCs และ Flow Computer Standard มาตรฐาน Protocols ที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 5 แบบ
1. ASCII
(American Standard Code for Information Interchange) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและเป็นสากล
2. CAP 
(Compressed ASCII Protocol) เป็น RTU Protocol ที่ดีที่สุด เป็นภาษาที่คนสามารถอ่านเข้าใจได้ (Man readable) มีความน่าเชื่อถือ(Reliability) เร็ว (Fast) และมีความปลอดภัยสูง (Secure)
3. Modbus
เป็น point-to-point PLC protocol ที่ใช้กันทุกหนทุกแห่ง แต่มีข้อเสียคือ เป็นภาษาที่คนไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ (Man unreadable)
4. Modbus X 
เป็นส่วนที่พัฒนามาจาก Modbus Protocol ที่ทำให้ผู้ใช้ Modbus สามารถอ่านและสามารถสร้างจำนวนบวกและลบได้
5. IEEE 32 bit Single Format Floating Point
เป็นมาตรฐานของงานอุตสาหกรรม สำหรับการส่งตัวเลข 23 บิต ด้วยความถูกต้อง โปรโตคอลเหล่านี้ใช้ได้กับ National Instrument’s Lookout ที่เป็น Object Oriented Software ,DDE ,SQL
การแปลงข้อมูล SCADA Protocal
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากกระบวนการจะถูกแปลงโดย SCADA Central Station Computer ไปเป็นข้อมูลชนิดตัวเลขและตรรกะ ส่วนใน Object Oriented Software รูปแบบของฐานข้อมูลจะถูกเก็บในรูปของ Object โดยข้อมูลในฐานข้อมูลเหล่านี้จะถูกเรียกใช้โดย Central Station Computer จาก Remote RTUs, PLCs,Flow Computers เป็นต้น และข้อมูลจะถูกส่งผ่านสัญญาณวิทยุ , สายเคเบิ้ล , Fiber Optic Cable , By Dialing , By Satellite Communication
การแปลงระบบให้ SCADA System Protocol สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่และฐานข้อมูลแบบใหม่ได้ ซึ่งมีหลายแนวทางด้วยกัน
1. การแปลง Remote RTUs เก่า และ Flow Computer ให้สื่อสารด้วย Standard Protocol วิธีนี้ทำให้ข้อมูลในระบบเดิมยังคงอยู่ครบถ้วน
2. การแปลง Remote RTUs ใหม่และ Flow Computer ให้สื่อสารด้วย Old Protocol วิธีนี้ไม่นิยม เนื่องจากมีข้อเสียคือ เป็นการใช้เทคโนโลยีเก่า (Step back technology)
3. การใช้ SPC (SCADA Protocol Converter) เป็น H/W Protocol Converter ระหว่าง RTUs ,PLCs ,Flow Computer และ Central Station ซึ่งวิธีนี้ทำให้ระบบเก่า (Old System) สามารถสื่อสารกับซอฟท์แวร์แบบใหม่ (Modern Software) ได้ และ SPC จะติดต่อโดยตรงกับ Central Station โดยไม่มี Delay หรือ Distortion เลย
รูปแสดง การติดต่อโดยใช้ SPC เป็นตัวกลางระหว่าง Central Computer SCADA Software และ RTU
จากที่กล่าวมานั้นผู้อ่านคงได้ห็นภาพรวมของระบบ SCADA กันแล้วนะค่ะ ว่าเป็นระบบอะไร ทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยส่วนประกอบใดบ้าง อย่างไรอย่าพลาดกับบทความต่อไปในข้อหัว SCADA Architecture ซึ่งจะเจาะโครงสร้างของระบบ SCADA เชิงลึกว่า Hardware และ Software ของระบบ SCADA เป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปนะค่ะ….. ^_^